ข่าวทั่วไป  :  เตรียมร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำในเชิงธุรกิจ

         (29 ก.ย.60) นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แถลงถึงการจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ โดยระบุว่า รัฐบาลต้องมีกลไกบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ที่รัฐบาลผลักดันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่าในช่วงเดือนต.ค.หรือพ.ย. ร่างพ.ร.บ.จะมีผลบังคับใช้ หลังจากนั้นภายใน 180 วันจะออกกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง ก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนทั่วประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องอัตราการเก็บค่าน้ำ ก่อนจะออกเป็นกฎกระทรวง ส่วนวิธีการคำนวณปริมาณน้ำแต่ละประเภท เบื้องต้นผู้ประกอบการที่เข้าข่ายเสียค่าน้ำจะต้องแจ้งมายังหน่วยงานว่าจะมีการใช้น้ำสาธารณะในปริมาณเท่าไร ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะมีวิธีการประเมิน ตรวจสอบอย่างเป็นธรรม

เตรียมร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำในเชิงธุรกิจ

         ทั้งนี้ หากพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายจะอยู่ภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ กนช. ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

        ซึ่งได้กำหนดประเภทการใช้น้ำไว้ 3 ประเภทได้แก่

        ประเภทที่ 1 ใช้น้ำเพื่อการดำรงชีพ ไม่ต้องเสียค่าใช้น้ำ

        ประเภทที่ 2 ใช้น้ำด้านการเกษตร เลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ เก็บค่าน้ำไม่เกิน 50 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนด้านการท่องเที่ยว โรงแรม สถานที่พักผ่อน ร้านอาหาร เก็บค่าน้ำ 1-3 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และธุรกิจสนามกอล์ฟ การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาสัมปทาน เก็บค่าน้ำไม่เกิน 3 บาทต่อลูกบาศก์เมตร

         ประเภทที่ 3 สำหรับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ และกิจการอื่นๆ ที่ใช้น้ำในปริมาณมากตามมติ ของกนช. เก็บค่าน้ำไม่ต่ำกว่า 3 บาทต่อลูกบาศก์เมตร

         ด้านนายระวี รุ่งเรือง นายกสมาคมชาวนาไทย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยหากให้เกษตรกรต้องเสียค่าน้ำทำการเกษตร เพราะจะกระทบต่อเกษตรกรทั้งประเทศ ซึ่งจะต้องทำประชาพิจารณ์อย่างทั่วถึงและเปิดกว้าง แต่ที่ผ่านมาชาวนา และเกษตรกรยังไม่ทราบเรื่องการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้ และเตรียมเข้าพบพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เพื่อขอความชัดเจนในเรื่องนี้

         ส่วนนายเตชะพัฒน์ มะโนวงค์ เลขาธิการสภาลุ่มน้ำอิง เห็นว่า หากเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม เห็นควรให้มีการจัดเก็บ แต่กลุ่มที่เกษตรกรรายย่อยทั่วไป เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ที่ทำเพื่อยังชีพและบริโภคในครอบครัว กลุ่มเกษตรกรควรยกเว้นภาษีน้ำ

 

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ  :  http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=150178&t=news

 

ขอขอบ