ข่าวตาก : จังหวัดตาก นำร่องลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ ชีววิธี หรือสิ่งมีชีวิต

จังหวัดตาก นำร่องลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ ชีววิธี หรือสิ่งมีชีวิต

จังหวัดตาก : นำร่องลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ ชีววิธี หรือสิ่งมีชีวิต “ใส่เดือนฝอย แมลงหางหนีบ และ แตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา”ในการควบคุมหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

       ชวลิต สจ.มอไซต์ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวจากพื้นที่อำเภอพบพระ สืบเนื่องมาจาก ปัญหา หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มาทำลาย ข้าวโพดของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอพบพระเสียหายเป็นจำนวนมาก เกิดผลกระทบ ไม่ใช่เฉพาะอำเภอพบพระอย่างเดียว ยังมีอีกหลายอำเภอ ที่ได้รับผลกระทบ จากหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เข้าทำลาย ต้นข้าวโพดของเกษตรกรเป็นจำนวนมาจังหวัดตาก ได้ส่งเสริม และ นำร่องลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ ชีววิธี หรือสิ่งมีชีวิต

“ใส่เดือนฝอย แมลงหางหนีบ และ แตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา”

ในการควบคุมหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2562 
     นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า มอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมด้วยส่วนราชการ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตากร่วมจัดกิจกรรมสาธิตโครงการแก้ปัญหา หนอนกระทู้ข้าวโพด ลายจุด ณ. หมู่ที่ 3 บ้านวาเล่ย์เหนือ ตำบลวาเล่ย์อำเภอพบพระ จังหวัดตากโดยอำเภอพบพระ เป็นอำเภอนำร่องใน ฝั่งห้างอำเภอชายแดน ของจังหวัดตาก ทางจังหวัด มีการรณรงค์โดยเฉพาะอำเภอพบพระ พืชและผลผลิตทางการเกษตร เป็นพืชหลัก โดยส่งเสริมการลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ แลงหางหนีบ ใส้เดือนฝอย มาเป็นศัตรูในการปราบศัตรูพืช เพื่อให้พืชที่ปลูกในพื้นที่อำเภอพบพระปลอดจากสารเคมี และเป็นอาหารปลอดภัย โดยเฉพาะอะโวคาโด และทุเรียน ที่มีชื่อเสียง ของอำเภอพบพระ

     นางสาวเกษตริน ฝ่ายอุประ นักวิชาการปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก กล่าวว่าวันนี้มาสาธิต ไส้เดือนฝอย กำจัดแมลง หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด วิธีการพ่นเราจะใช้ เดินสายผสมน้ำวิธีฉีดพ่นในช่วง ตอนเช้าหรือตอนเย็นเท่านั้นเพราะตัวนี้เหมาะสม แดดร้อนจะไม่เหมาะสมต้นทุนต่อไร่ค่อนข้างถูกมาก 100 บาทต่อ 1 ไร่ ติดต่อได้ สำนักงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก โครงการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัดตากเพื่อแก้ไขปัญหานอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดวันนี้ แปรงต้นแบบนายพัชรวัฒน์ สุวรรณศรี อายุ38 ปี สถานที่ ณ ไร่ราศีพฤษภ เลขที่ 77/2 หมู่ 3 ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก พื้นที่ 25 ไร่

         นายสมาน เทพารักษ์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตาก กล่าว่าได้รับมอบหมายจากเกษตรจังหวัดตาก ร่วมการสาธิตส่งเสริมป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด โดยชีววิธี โดยการนำของ นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ณ แปลงปลูกข้าวโพด บ้านวาเลย์หนือ ตำบลวาเลย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตากสนับสนุนปัจจัยในแปลงสาธิต ดังนี้

1.แมลงหางหนีบ ปล่อยในแปลง เพื่อกำจัดหนอนในวัย 1 และ 2 ซึ่ง แมลงหางหนีบจะกำจัดหนอนโดยใช้แพนหางหนีบแล้วกินหนอนเป็นอาหาร โดยแนะนำปล่อยแมลงหางหนีบในอัตรา 100-1000ตัว ต่อไร่ หรือตามสถานการณ์การระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดในแปลง

2.แตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา ปล่อยในแปลงเพื่อให้แตนเบียนไปวางไข่ไว้ในไข่ของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ทำให้ไข่ของผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ไม่สามารถฟักออกมาเป็นตัวหนอนได้ โดยจะฟักออกมาเป็นแตนเบียนแทน

     โดยแมลงศัตรูธรรมชาติทั้ง 2 ชนิด สามารถลดปริมาณการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดได้เป็นอย่างดี หากใช้อย่างต่อเนื่องจนปริมาณเพิ่มขึ้นสมดุลกับปริมาณหนอนที่ระบาด ก้จะลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดหนอนลงได้ ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อเกษตรกร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หากเกษตรกรทั่วไปสนใจ สามารถติดต่อหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ ซึ่ง สำนักงานเกษตรจังหวัดตากจะได้ประสานขอสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านอารักขาพืชจังหวัดพิษณุโลก กรมส่งเสริมการเกษตร ต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูล-ภาพ จาก เศรษฐชาติ แหงมงาม