ชาวปากะญอ จัดงานวันอนุรักษ์ช้างไทย ช้างอาเซียน AEC

ข่าวแม่สอด : มูลนิธิช้างไทย –ชาวปากะญอ จัดงานวันอนุรักษ์ช้างไทย ช้างอาเซียน AEC “คนยัง..ช้างอยู่” เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของช้าง สัตว์ประจำชาติ -นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แห่ร่วมงานขึ้นช้างรับวันอนุรักษ์ช้างไทย-ช้างอาเซียน

        เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2559 วันนี้เป็นวันช้างไทย-วันอนุรักษ์ช้างไทย ช้างศึกของคนไทย โดยมีการจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์ช้างไทย ที่บริเวณบ้านปูเตอร์ หมู่ 4 ต.แม่กุ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงปากะญอ ที่เป็นหมู่บ้านชาวปากะญอต้นแบบการช้างและเพาะพันธุ์ช้าง โดยการจัดงานครั้งนี้ชนเผ่าชาวกะเหรี่ยงปากะญอร่วมกับมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย และครวญช้างรวมทั้งชาวบ้านปูเตอร์ ได้จัดกิจกรรมวันช้างไทย ขึ้น เพื่อให้คนยัง..ช้างอยู่ เพื่อประกาศเกียรติคุณให้แก่ช้างไทย และยกย่องช้างไทย เผยแพร่ความรู้ และกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของช้าง สัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติไทย ส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์ช้างในท้องถิ่นและเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสืบสานประเพณีท้องถิ่นอันดีงาม นอกจากนี้ยังมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ-ชาวไทยและกลุ่มองค์กรเอกชนนานาชาติ NGO และนักท่องเที่ยวชาวไทย จากต่างจังหวัด เดินทางมาร่วมการจัดกิจกรรม เช่นกัน โดยมีการจัดแสดงวิถีชีวิตระหว่างช้างกับคน ทั้งการกินการอยู่ และการใช้ชีวิตร่วมกัน เช่นการชักลากซุง-การขนข้าวสาร-การเดินทาง ฯลฯ เป็นต้น การจัดวันอนุรักษ์ช้างไทย นั้นเนื่องจาก ช้างเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีของไทยมายาวนานทำให้ช้างได้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ ด้วยเหตุนี้มติคณะรัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ร่วมกันรำลึก และตระหนักถึงความสำคัญของช้างซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติไทย และพร้อมใจกันอนุรักษ์ให้ช้างไทยอยู่กับชาติไทยตลอดไป เนื่องจากปัจจุบัน บทบาทของช้างไทยได้เปลี่ยนไปจากเดิม เหตุเพราะโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยไม่ได้ใกล้ชิดกับช้างเหมือนแต่ก่อน และให้ความสำคัญกับช้างน้อยลง โดยชาวเผ่าปากะญอ และมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย จึงจัดกิจกรรม 13 มีนาคม วันช้างไทยขึ้นเพื่อให้ทุกคนหันมาให้ความสนใจช้างไทยเหมือนในอดีต ให้คนไทยได้ระลึกถึงคุณประโยชน์ของช้างไทย ได้สัมผัสกับช้างอย่างใกล้ชิด รวมถึงรับรู้การทำงานของมูลนิธิ ร่วมกันเสนอแนวคิดเพื่ออนุรักษ์ช้าง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการได้ใกล้ชิดกับช้าง และสร้างเครือข่ายแนวร่วมในการอนุรักษ์ช้างต่อไป

         จากการทำงานของมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทยหลายปีที่ผ่านมา ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมากมาย จากกระแสความต้องการช้างในตลาดซื้อขาย ทำให้ช้างจากบ้านปูเตอร์จำนวนหนึ่งถูกขายออกไป และจำนวนไม่น้อยที่ถูกซื้อออกไปเพื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย จึงได้เคลื่อนไหวเพื่อโน้มนำให้ครวญช้างบ้านปูเตอร์เห็นความสำคัญถึงการอนุรักษ์ และการเพาะขยายพันธุ์ช้าง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จนปัจจุบันจำนวนช้างในหมู่บ้านกลับเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมากขึ้น ทำให้มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับชาวบ้านจัดงานวันช้างไทยขึ้นในวันนี้

        รายงานข่าวแจ้งว่า ควาญช้างบ้านปูเตอร์ ยังต้องการให้มูลนิธิช้างไทยและหน่วยงานภาคราชการ เพื่อขอผืนป่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ช้าง โดยยืนยันจะไม่ทำลายป่าและจะร่วมอนุรักษ์ป่าและช้าง เพราะช้างได้รับผลกระทบจากปัญหาไฟป่าและภัยแล้งเช่นกัน โดยได้กลุ่มควาญช้างบ้านปูเตอร์ กล่าวว่า ในโอกาสวันช้างไทย ตนเองและควาญช้างได้ขอเสนอให้มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ประสานกับหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จัดหาพื้นที่ป่าใกล้หมู่บ้านปูเตอร์ เป็นพื้นที่อนุรักษ์และเพาะพันธุ์ช้าง โดยอยากได้บริเวณป่าห้วยระพิ้ง ซึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้าน เป็นที่เลี้ยง และเพาะพันธุ์ โดยควาญช้างยืนยันว่าจะไม่ทำลายป่า เนื่องจากในขณะนี้ ช้างไม่มีงานทำ จะไปชักลากไม้ก็ผิดกฎหมาย ข้ามไปฝั่งพม่าก็เสี่ยงภัยไปเหยียบกับระเบิด จึงอยากได้ผืนป่าที่เลี้ยงช้าง และเพาะพันธุ์ช้าง โดยจะอนุรักษ์ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับอนุรักษ์ช้างไทย ช้างอยู่ ป่าอุดมสมบรูณ์ เพราะช้างต้องคู่กับป่า และในป่าต้องมีช้าง ซึ่งในช่วงฤดูร้อนและอากาศแห้งแล้ง มีการจุดไฟเผาป่า ช้างก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและหมอกควันจากไฟป่าเช่นกัน จึงมีความจำเป็นต้องหาพื้นที่ เพาะพันธุ์และเลี้ยงช้าง เพื่อให้ช้างไทยเป็นสมบัติของชาติและของโลกต่อไป ประกอบกับที่ชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จ.ตาก ได้รับการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก(แม่สอด-พบพระ-แม่ระมาด) และการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Asean Economics Communit- AEC ในปี 2559 และ แม่สอด-ตาก เป็นประตูอาเซียนเชื่อมกับจังหวัดเมียวดี(พม่า) บนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ถนนสาย ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor (EWEC) ส่วนหนึ่งที่ต้องร่วมกันคือการเปิดประตูวัฒนธรรมอาเซียน ของการเป็นเมืองคู่แฝด บ้านพี่เมืองน้อง Sister City แม่สอด-เมียวดี จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะให้การอนุรักษ์ช้าง เป็นการอนุรักษ์ของอาเซียน ช้างศึกไทยช้างอาเซียน AEC

ขอขอบคุณภาพ-เนื้อข่าวโดย AEC อาเซียน NEWS