ข่าวแม่สอด : “ซูจี” เร่งสร้างเมืองใหม่และพัฒนาบ้าน หมู่บ้านเลกิกเกาะให้ผู้อพยพ

       “ซูจี” เร่ง สร้างเมืองใหม่ และพัฒนาบ้าน หมู่บ้านเลกิกเกาะ ให้ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง ล่าสุดเริ่มทะยอยเข้าไปอยู่แล้ว นับ 1,000 ครอบครัว ที่เมืองเลกิกเกาะ

       เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2560 รัฐบาลสหภาพเมียนมา ภายใต้การนำของ นางอ่องซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และ สหประชาชาติ UN โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผ็ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR ได้เร่งก่อสร้างหมู่บ้านเลกิกเกาะ บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา ตรงข้าม จังหวัดตาก ภายหลังนางอ่องซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา ได้ร่วมกับ UN โดย UNHCR ที่ได้ให้งบประมาณสนับสนุนที่พัก บ้านพักให้กับผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง ที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ศูนย์อพยพชาวกะเหรี่ยง ตามแนวชายแดนจังหวัดตาก เพื่อให้กลับไปฝั่งเมียนมาโดยความสมัครใจ

      รายงานข่าวแจ้งว่า การสร้างบ้านพักและที่พักพิง หมู่บ้านเลกิกเกาะ ให้ชาวกะเหรี่ยง ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด-พบพระ-แม่ระมาด-อ.ท่าสองยาง ดำเนินการก่อสร้าง กว่า 10,000 หลังคาเรือน สำหรับผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง ที่ได้ยื่นและแสดงความจำนงสมัครใจเดินทางกลับบ้านเกิด แล้ว 5,000-6,000 ครอบครัว –โดยเริ่มสร้างบ้านพักนำร่องแล้ว 5,000-6,000 หลังตรงข้าม ต.มหาวัน และ ต.แม่กุ อ.แม่สอด จ.ตาก

      โดยมีคณะกรรมการผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยง (Karen Refuge Committee – KRC กล่าวที่ศูนย์อพยพแห่งหนึ่งชายแดนไทย-เมียนมา ด้านตรงข้ามจังหวัดตาก เป็นหน่วยงานที่ประสานกับ นางอ่องซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ สหภาพเมียนมา ที่ได้มีการตกลง ตามข้อตกลงกับ UN และ UNHCR ที่ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับรัฐบาลเมียนมา ผ่านนางอ่องซานซูจีจำนวนมาก ในการใช้ในการก่อสร้าง หมู่บ้านเลกิกเกาะ ซึ่งขณะนี้ได้มีผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง ได้ทะยอย เดินทางเข้าไปอยู่อาศัย ตามสิทธิของตัวเองกันแล้ว เป็นเมืองใหม่ ที่ “หมู่บ้านเลกิกเกาะ” ของชาวกะเหรี่ยงอีกแห่งหนึ่ง

     สำหรับโครงการ บ้านเลกิกเกาะ ได้เริ่มต้นนำร่องแล้ว จำนวน 5,000-6,000 หลังคาเรือน บริเวณชายแดนริมแม่น้ำเมย ตรงข้าม บ้านแม่โกนเกน หมู่ 1 , 4, และ หมู่ 9 ตำบลมหาวัน อ.แม่สอด และที่ บ้านแม่กุหลวง หมู่ 1 ต.แม่กุ อ.แม่สอด จ.ตาก ชาวกะเหรี่ยงอพยพนับ 1,000 ครอบครัว เริ่มเข้าไปอยู่อาศัย และร่วมสร้างเมืองใหม่ที่ บ้านเลกิกเกาะ แล้ว บ้าน เลกิกเกาะ จะระบบอำนวยความสะดวกให้ชาวกะเหรี่ยง มีโรงเรียน-มีตลาดสด มีสถานพยาบาลสาธารณสุข-มีศูนย์ประสานงาน ฯลฯ – มีที่ดินทำกินในภาคเกษตร และภาคการค้าขายที่ต่อเนื่อง

ขอขอบคุณข้อมูล-ภาพ จาก AEC อาเซียน NEWS